News — IoT

เทคโนโลยี LPWAN ELTRES จาก Sony เพื่อการสื่อสารระยะไกลที่มีเสถียรภาพ

โพสต์โดย Marisa TAWEECHOKCHANCHAI เมื่อ

เทคโนโลยี LPWAN ELTRES จาก Sony เพื่อการสื่อสารระยะไกลที่มีเสถียรภาพ

         หนึ่งในคุณสมบัติของ ELTRES คือการสื่อสารทางไกลที่มีเสถียรภาพ ด้วยการส่งคลื่นสัญญาณวิทยุเพียงแค่ 20 mW แต่สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้ทั่วทั้งโตเกียว โดยมีสถานีฐานสัญญาณเพียงแค่ไม่กี่ที่ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ Tokyo Skytree เราจะพาคุณไปรู้จักกับต้นกำเนิดของเทคโนโลยี ELTRES รวมถึงแนวคิดด้านเทคโนโลยีพื้นฐาน   จุดเริ่มต้นของเทคโนโลยี     มันเป็นมากกว่า 10 ปีที่แล้ว ที่การเชื่อมต่อเซ็นเซอร์นับพันตัวเข้ากับอินเทอร์เน็ตถือเป็นการเปิดศักราชใหม่ของ  “sensor network” ซึ่งเป็นเทคโนโลยีแห่งอนาคต และนี่คือความคิดเห็นจากการบรรยายที่สะท้อนแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ใน ณ ขณะนั้น:"ระบบไร้สายเป็นสิ่งที่ไม่น่าเชื่อถือและไม่สามารถใช้งานได้ โลกอนาคตจะเป็นเครือข่ายเซ็นเซอร์แบบใช้สาย ซึ่งเซ็นเซอร์ทั้งหมดเชื่อมต่อกันด้วยสายไฟ"การบรรยายในการประชุมที่บอสตันสะท้อนเสียงของผู้คนในสาขานั้นว่า“อุปกรณ์สื่อสารวิทยุนั้นมีหน้าที่ปรับความแรงของคลื่นวิทยุให้ต่ำ อยู่ระดับกลาง หรือสูง  ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่พนักงานภาคสนามจะติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าวเพื่อตั้งค่าความเข้มของคลื่นวิทยุให้ “สูง” ไม่ว่าสภาพคลื่นวิทยุนั้นจะดีหรือไม่ดีก็ตาม และแม้ว่าอุปกรณ์สื่อสารไร้สายนั้นจะถูกติดตั้งในสถานภาพ "สูง" และมีระยะครอบคลุมเพียงพอ แต่การสื่อสารแบบไร้สายก็อาจจะยังคงถูกรบกวนอยู่ดี"ด้วยเหตุนี้ ความท้าทายของการสื่อสารแบบไร้สายคือ "ความไม่เสถียรในการสื่อสาร" ซึ่งที่ข้อมูลจากเซ็นเซอร์ถูกรบกวนหรือหยุดชะงักนั้นจะสร้างความไม่สะดวกสบายเป็นอย่างมากให้กับผู้ใช้งาน อีกปัจจัยที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างมากกับความเสถียรนั่นก็คือ "ระยะห่างในการสื่อสาร" เพื่อให้ได้บริการการสื่อสารแบบไร้สายที่ใช้ทุนต่ำ แต่ก็จำเป็นต้องคำนึงถึงสื่อสารในระยะทางที่ไกล อย่างไรก็ตาม ในระยะทางไกล ระดับสัญญาณจะลดลง และจะทำให้การสื่อสารนั้นไม่เสถียรมากขึ้นแล้วความไม่มั่นคงมาจากไหนและจะแก้ไขได้อย่างไร? หากเทคโนโลยีของ Sony สามารถรวมเข้ากับวิทยุทางไกลที่มีความเสถียรได้ ก็จะกลายเป็นความสามารถหลักที่จะเปิดทางสู่อนาคต ซึ่ง ELTRES ได้รับการพัฒนาโดยคำนึงถึงสิ่งนี้ แล้วเทคโนโลยีพื้นฐานของ ELTRES ทำงานอย่างไรกัน    หลักการติดต่อสื่อสารทางไกล เมื่อระยะการสื่อสารเพิ่มขึ้น สัญญาณที่ได้รับก็จะเบาบางลงและจะจมอยู่ในสัญญาณรบกวนในที่สุด แต่สัญญาณจะไม่หายไป และเมื่อคุณรวบรวมและเพิ่มสัญญาณขาเข้าจำนวนมาก (เรียกว่าการรวมระบบ) คุณจะสามารถมองเห็นสัญญาณที่ฝังอยู่ในเสียงรบกวนได้ในที่สุด โดยเทคโนโลยีการสื่อสารระยะไกล เช่น สเปรดสเปกตรัม, Sigfox และ LoRa จะใช้หลักการนี้เพื่อตรวจจับสัญญาณที่อ่อนและเพิ่มระยะการสื่อสาร ซึ่ง ELTRES จะใช้เทคโนโลยีเดียวกันเพื่อลดเสียงรบกวนและเพิ่มระยะการสื่อสารโดยการสะสมสัญญาณขาเข้าหลายตัวมารวมกัน   ความยากในการสะสมสัญญาณ = ปัญหาการประสานข้อมูล พื้นที่ของสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น ห้องปฏิบัติการ จะง่ายต่อการรวบรวมและ "สะสม" สัญญาณที่ได้รับ แต่อย่างไรก็ตามบุคคลที่มีเครื่องส่งสามารถที่จะเคลื่อนที่ได้เช่นกัน เมื่อระยะการสื่อสารเปลี่ยนแปลงไปครึ่งหนึ่งของความยาวคลื่น (ประมาณ 16 เซนติเมตร) เนื่องจากการเคลื่อนไหว เวลาของการสื่อสารก็จะล่าช้าลงไป 0.5 นาโนวินาที และขั้วของสัญญาณที่ได้รับจะกลับกัน (ซึ่งหมายถึงสัญญาณบวกจะกลายเป็นสัญญาณลบ)การเพิ่มสัญญาณกลับหัวเข้าด้วยกันเพื่อ "สะสม"...

  • แท็ก: IoT

อ่านเพิ่มเติม →

Cloud Service และการประยุกต์ใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ IoT

โพสต์โดย Supatcha Swangchaeng เมื่อ

    Cloud คือพื้นที่สำหรับให้บริการ จัดเก็บ ดำเนินการ และจัดการข้อมูลต่างๆ โดยจะให้บริการผ่านอินเตอร์เน็ต ในปัจจุบันมีผู้ให้บริการ Cloud อยู่เป็นจำนวนมาก โดยผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้งานตามความต้องการได้อย่างสะดวกสบาย ข้อแตกต่างของ Cloud ที่แตกต่างจาก server หรือ storage แบบเดิมที่เคยใช้กันคือเราสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ใดอุปกรณ์หนึ่งโดยเฉพาะ เพียงแค่อุปกรณ์ที่เราใช้งานสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้เท่านั้น เราก็จะสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ถูกจัดเก็บไว้ใน Cloud ได้อย่างอิสระ อีกหนึ่งความน่าสนใจของการให้บริการรูปแบบ Cloud คือความประหยัดในเรื่องของค่าใช้จ่าย เนื่องจากผู้ให้บริการ Cloud นั้นจะใช้วิธีให้เรา “เช่า” พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลที่เราต้องการ ทำให้เราไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการลงทุนเพื่อสร้าง Server ขึ้นมา การให้บริการแบบคลาวด์นั้นส่วนมากจะคิดค่าบริการตามพื้นที่ใช้งานจริงจากข้อมูลที่เรานำไปฝากเอาไว้ หากข้อมูลน้อยค่าใช้จ่ายก็จะน้อยตาม เหมาะสำหรับผู้ใช้บริการที่ไม่ต้องการเสียเงินให้กับการมีพื้นที่ที่มากเกินความจำเป็นในการใช้งานจริง นอกจากนี้แล้ว การใช้บริการ Cloud จะยังช่วยให้ความมั่นใจกับผู้ใช้บริการในเรื่องความปลอดภัยและการกู้คืนข้อมูลในกรณีที่เกิดปัญหา เนื่องจากการนำข้อมูลไปฝากไว้บน Cloud นั้น ผู้ให้บริการจำเป็นต้องดูแลรักษาข้อมูลเป็นอย่างดี มีการเข้ารหัสถูกป้องกันเอาไว้เพื่อความมั่นใจของผู้ใช้งาน อีกทั้งยังมีการ Back up ข้อมูลเพื่อป้องกันเหตุไม่คาดฝันเอาไว้ในที่ต่างๆอีกจำนวนหนึ่ง เพื่อให้สามารถแก้ไขได้ทันท่วงที ตัว  Cloud นั้นจะแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบด้วยกัน หลักๆคือ Infrastructure as a Service (IaaS) Platform as a Service (PaaS) Software as a Service (SaaS)       ในยุคปัจจุบันยังมีการนำรูปแบบการใช้งานของ Cloud มาใช้ร่วมกับอุปกรณ์ IoT หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ Internet of Things โดยเจ้าอุปกรณ์ IoT นั้น หมายถึงอุปกรณ์อะไรก็ตามที่สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายและส่งสัญญาณเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ โดยมีแนวคิดหลักๆคือการให้อุปกรณ์สามารถทำงานได้ด้วยตัวเองโดยมนุษย์เข้าไปมีส่วนร่วมน้อยที่สุด Cloud ชนิดหนึ่งที่เราจะพูดถึงในวันนี้นั้นสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ IoT ได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก  IoT Hub คือระบบคลาวด์ที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการสื่อสารและส่งต่อข้อมูลระหว่าง อุปกรณ์ IoT กับ ส่วนแสดงผล...

อ่านเพิ่มเติม →