CABMA Platform คืออะไร?

โพสต์โดย Marisa TAWEECHOKCHANCHAI เมื่อ

       CABMA Platform คือแพลตฟอร์มที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับและอำนวยความสะดวกในการทำงานในหลากหลายด้าน โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นผ่านระบบอัตโนมัติและเครื่องมือที่ครบวงจร ภายใต้แพลตฟอร์มนี้ ผู้ใช้งานจะสามารถดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย ช่วยลดขั้นตอนที่ซับซ้อนและเพิ่มความแม่นยำในการทำงาน

       CABMA Platform มีทั้งหมด 7 มอดูลหลักที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์การใช้งานในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการบริหารจัดการ การประสานงาน หรือการวิเคราะห์ข้อมูล แต่ละมอดูลจะมีฟังก์ชันที่เชื่อมโยงกัน ทำให้การทำงานทุกขั้นตอนเป็นไปอย่างราบรื่นและเป็นระบบ

 

 

1. System Corebase : โครงสร้างพื้นฐานและระบบแกนหลักของ Software

System Corebase ในแพลตฟอร์มหมายถึงส่วนประกอบพื้นฐานและคุณสมบัติที่ให้ฟังก์ชันการทำงาน ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยที่จำเป็นสำหรับทั้งระบบ โดยทำหน้าที่เป็นแกนหลักในการสร้างโมดูล แอปพลิเคชัน และบริการอื่นๆ System Corebase ที่ออกแบบมาอย่างดีช่วยให้แน่ใจว่าแพลตฟอร์มสามารถปรับขนาดได้ เชื่อถือได้ และยืดหยุ่น เพื่อรองรับความต้องการทางธุรกิจที่หลากหลาย

2. User Management System : ระบบบริหารจัดการผู้ใช้งานในแพลตฟอร์ม ทั้งในองค์การ และนอกองค์การ

ใช้ในการบริหารจัดการผู้ใช้งานในระบบ ทั้งในส่วนของส่วนที่ติดต่อผู้ใช้งานจากระบบหลังบ้าน(Back-Office) และหน้าบ้าน(Front-Office) ซึ่งจะมีการควบคุมสิทธิ และบทบาทของแต่ละผู้ใช้งานในการเข้าถึงข้อมูลภายในระบบ โดยจำแนกตามกลุ่ม และความสัมพันธ์หรือข้อบังคับใช้ของแต่ละ User Role อีกทั้งยังมีการจัดสรรทรัพยากร ควบคู่กับผู้ใช้งานภายใน ระบบ อันได้แก่ เช่น พนักงานภายในองค์กร ซึ่งเป็นผู้ใช้งานหลัก หรืออาจจะเป็นพนักงานส่วนงานซ่อมบำรุง หรือแม้กระทั้งผู้ใช้งานร่วมอื่นๆ ซึ่งอยู่ภายนอกองค์กร

3. IoT Asset Management System : ระบบจัดการอินเทอร์เน็ตในสรรพสิ่ง(IoT)และทรัพย์สิน(Asset)

จัดการอุปกรณ์ฐานข้อมูลทรัพยากร(Asset & Resource)หรือวัตถุ(Thing) ซึ่งมีความสอดคล้องกับข้อมูลของIoT ที่จะนำไปประยุกต์ใช้ โดยอาจเป็นได้ทั้ง เครื่องจักร(Machine), พื้นที่จัดเก็บ(Storage), อุปกรณ์ไฟฟ้า(Electric Equipment) ที่อยู่หน้างาน เป็นต้น จากข้อมูลส่วนย่อยของ Sensor หรือ Parameter ของฮาร์ดแวร์ซึ่งเป็นข้อมูลหน่วยย่อยภายใน [Mod-WSN+IoT Hub] จะถูกนำมาจัดเรียงและเรียบเรียงตาม Resource Profile และ User Profile โดยเชื่อมข้อมูลกับ [Mod-UMS] เพื่อจัดการส่วนของ Data Entry และกำหนดสิทธิ์ของการเข้าถึงข้อมูลของ User ในแต่ละ Role เพื่อไม่ให้ปะปนกัน และบริหารจัดการได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังสามารถกำกับข้อมูลสถานที่ติดตั้งอุปกรณ์เครื่องจักร (Installation On-Site) เพื่อสะดวกต่อการจำแนกในการเข้าถึงข้อมูลของ User ในแต่ละส่วน

4. Item Master and Movement : ระบบบันทึกรายการสินค้าครบวงจรสำหรับการจัดการสต็อกและกระบวนการในคลังสินค้า

โมดูลที่จัดการข้อมูลพื้นฐานของสินค้าในระบบ ERP เพื่อสนับสนุนการจัดการคำสั่งซื้อขาย (Sales Orders) และระบบการจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management System - WMS) โดยมุ่งเน้นการรวบรวมและจัดการข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับสินค้าเพื่อให้การดำเนินงานในทั้งสองด้านเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

5. Sales Order Stream : กระบวนการจัดการใบสั่งขาย

Sales Order Stream หมายถึงกระบวนการตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางในการจัดการใบสั่งขาย ตั้งแต่วินาทีที่ลูกค้าสั่งซื้อไปจนถึงการส่งมอบขั้นสุดท้ายและการเรียกเก็บเงิน ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ และรวมโมดูลต่างๆ ไว้ในระบบ ERP เพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการขายจะราบรื่นและมีประสิทธิภาพ อีกทั้งต้องคำนึงถึงการจัดการ Sales Order โดยใช้วิธีการ Multi-Channel และ Omni-Channel มีองค์ประกอบสำคัญหลายอย่างที่ต้องพิจารณาเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่น

6. WMS Distribution TMS : ระบบกระจายสินค้าและการจัดการขนส่ง

ขอบเขตของระบบการจัดการการขนส่ง(TMS) และการกระจายสินค้า  รวมถึงการวางแผน การดำเนินการ และการเพิ่มประสิทธิภาพของการเคลื่อนย้ายทางกายภาพของสินค้าในรูปแบบการขนส่งต่างๆ ให้สอดคล้องอย่างใกลัชิดกับการจัดการ Sales Order  เนื่องจากกระบวนการเหล่านี้เป็นส่วนสำคัญในการทำให้คำสั่งซื้อของลูกค้าถูกจัดการและส่งมอบอย่างมีประสิทธิภาพ

7. Supply Chain Management : ระบบจัดการห่วงโซ่อุปทาน

ระบบการจัดการห่วงโซ่อุปทาน(SCM) จัดการและการประสานงานของกระบวนการห่วงโซ่อุปทานทั้งหมด ครอบคลุมการวางแผน การจัดหา การผลิต และการส่งมอบผลิตภัณฑ์ โดยบริการใน SCM  รวมฟังก์ชันต่างๆ ภายในระบบเพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานมีประสิทธิภาพและคล่องตัวทั่วทั้งห่วงโซ่อุปทาน

 

       


แชร์โพสต์นี้