News

5G CPE vs อินเตอร์เน็ตไฟเบอร์ออบติก ต่างกันอย่างไร!

โพสต์โดย Marisa TAWEECHOKCHANCHAI เมื่อ

5G CPE vs อินเตอร์เน็ตไฟเบอร์ออบติก ต่างกันอย่างไร!

  ในยุคสมัยที่อินเตอร์เน็ตและการใช้ Wi-Fi เข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำเนินชีวิตและการดำเนินกิจการต่าง ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งการมีมีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงนั้นก็จะช่วยให้การดำเนินการเป็นไปได้อย่างราบรื่นมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การประชุมจากทางไกลผ่านอินเตอร์เน็ต หรือการดาวน์โหลด-อัปโหลดไฟล์ขนาดใหญ่ ก็สามารถทำได้อย่างรวดเร็วและไร้ปัญหา เมื่อพูดถึงอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงแล้ว หลายคนก็มักจะคุ้นชินกับภาพของอินเตอร์เน็ตบ้านที่เชื่อมต่อผ่านทางสายใยแก้วนำแสงหรือที่รู้จักกันในชื่อ Fiber Optic นั่นเอง ทว่านอกจากนั้นแล้วก็ยังมีทางเลือกสำหรับผู้ใช้งานที่ต้องการใช้งาน Wi-Fi แต่อยู่นอกเหนือพื้นที่ของสายใยแก้วนำแสง หรือต้องการอุปกรณ์ปล่อยสัญญาณอินเตอร์เน็ตที่สามารถพกพาไปยังที่ต่าง ๆ ได้ ซึ่งนั้นก็คือ Router WiFi อุปกรณ์ที่ปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ตจากซิมการ์ดเป็นสัญญาณ Wi-Fi เพื่อกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตให้ใช้งานกับอุปกรณ์เครื่องอื่นๆ ได้   5G CPE ROUTER คืออะไร? 5G CPE ROUTER ก็คืออุปกรณ์ Router Wi-Fi ที่ปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ตจากซิมการ์ดออกมาเป็นสัญญาณ Wi-Fi โดยความพิเศษของ 5G CPE คือสามารถรับสัญญาณเครือข่าย 5G จากซิมการ์ดและแปลงออกมาเป็นสัญญาณ Wi-Fi ความเร็วสูง ถึงแม้ว่าอุปกรณ์ที่ต้องการนำมาเชื่อมต่อไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟนหรือแล็ปท็อปจะไม่รองรับสัญญาณเครือข่าย 5G แต่เราก็ยังสามารถสัมผัสประสบการณ์การใช้งานอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงแบบเดียวกันได้   5G CPE ROUTER และ Fiber Optic แตกต่างกันอย่างไร? ข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดของทั้ง 2 อย่างคือเรื่องการของการ wire สายนั่นเอง ซึ่งสำหรับเราเตอร์ Wi-Fi แบบ Fiber Optic นั้นต้องใช้เครือข่ายใยแก้วนำแสงคงที่เพื่อให้สัญญาณบรอดแบนด์ ซึ่งหมายความว่าจะสามารถติดตั้งได้ก็ต่อเมื่ออยู่ในพื้นที่ที่สายใยแก้วนำแสงเข้าถึง หรืออาจจะต้องมีการเดินสายเพิ่มเติมในกรณีที่ไม่มี ในขณะที่ 5G CPE ROUTER นั้นส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตจากซิมการ์ดที่อยู่ด้านในออกมาโดยตรง ซึ่งไม่จำเป็นที่จะต้องมีการเดินสายใด ๆ เพิ่มเติม มีเพียงแค่ซิมการ์ดและเราเตอร์เท่านั้นก็เพียงพอแล้ว   แนะนำ 5G CPE ROUTER ที่น่าสนใจในตอนนี้ 1. AIS 5G HOME WIFI RUIO รุ่น ZTE (MC888) - 9,490 บาท คุณสมบัติ Network : 4G LTE FDD : B1/2/3/4/5/7/8/12/13/14/17/18/19/20/25/26/28/66/71 TDD...

อ่านเพิ่มเติม →

อัปเกรดบ้านสุดอัจฉริยะของคุณด้วย SONOFF และ Matter

โพสต์โดย Marisa TAWEECHOKCHANCHAI เมื่อ

อัปเกรดบ้านสุดอัจฉริยะของคุณด้วย SONOFF และ Matter

Matter คืออะไร? Matter เป็นโปรเจคที่ริเริ่มจากการร่วมมือกันของ Amazon, Apple, Google และ ZigBee Alliance โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและส่งเสริมโปรโตคอลการเชื่อมต่อรูปแบบใหม่ที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการพัฒนาของผู้ผลิตอุปกรณ์เกี่ยวกับบ้านอัจฉริยะและปรับปรุงความเข้ากันได้ระหว่างผลิตภัณฑ์ ทำให้ผู้ใช้สามารถควบคุมอุปกรณ์ของแบรนด์ต่างๆ และทำให้อุปกรณ์เหล่านั้นทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น Matter มุ่งเน้นไปที่การสร้างมาตรฐานที่เปิดกว้างและปลอดภัยสำหรับอุปกรณ์สำหรับบ้านอัจฉริยะ โดยตระหนักถึงการเชื่อมโยงกันระหว่างอุปกรณ์ของแบรนด์ต่างๆ มากขึ้น ช่วยให้คุณสามารถใช้งาน จัดการ และควบคุม อุปกรณ์สำหรับบ้านอัจริยะจากแบรนด์ต่าง ๆ ได้โดยไร้กังวลเกี่ยวกับการต้องใช้งานหลากหลายแอปพลิเคชันเพื่อควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด เพียงใช้งาน Matter คุณก็จะสามารถปรับการตั้งค่าบ้านอัจฉริยะและควบคุมทุกอย่างได้จากอินเทอร์เฟซเดียว ด้วยเทคโนโลยี IP (Internet Protocol) และใช้โปรโตคอลการสื่อสารมาตรฐาน เช่น Wi-Fi, บลูทูธ และ Thread ที่ Matter นำมาใช้เพื่อให้อุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถทำงานร่วมกันได้ ช่วยให้ผู้บริโภคมีความยืดหยุ่นมากขึ้นในการเลือกใช้อุปกรณ์สำหรับบ้านอัจฉริยะได้ตามต้องการ และใช้เพียงแอปเดียวในการควบคุมอุปกรณ์เหล่านั้น นอกจากนี้ยังมอบแนวทางที่เป็นมาตรฐานสำหรับมาตรการรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวเพื่อให้ผู้ใช้งานมั่นใจได้ว่าการสื่อสารและการโต้ตอบระหว่างอุปกรณ์นั้นปลอดภัยและเชื่อถือได้ Matter ได้แนะนำแนวคิดเกี่ยวกับตัวควบคุมว่าอาจจะเป็นอุปกรณ์แบบกายภาพ เช่น ลำโพงอัจฉริยะ สมาร์ทโฟน ฯลฯ หรืออาจจะเป็นแอปพลิเคชัน เช่น แอป smart home เป็นต้น ซึ่งคุณสามารถมีตัวควบคุมได้ 1 ตัว หรืออาจจะมากกว่า 1 ตัวขึ้นไปก็ได้ โดยที่ตัวควบคุมแบบเดี่ยวอาจจะเป็น HomeKit ก็ได้ หรือแบบที่มีตัวควบคุมหลายตัวอาจเป็น HomeKit และแอพเนทีฟจากผู้ขาย หรือ HomeKit, แอพเนทีฟ และ Alexa ก็ได้ หากคุณต้องการ โดยที่ตัวควบคุมจะทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานหลักและตัวจัดการอุปกรณ์และบริการทั้งหมดภายในเครือข่าย Matter ตลอดจนเป็นจุดศูนย์กลางสำหรับการสื่อสารทั้งหมดบนเครือข่าย Matter ช่วยให้สามารถค้นหาและกำหนดค่าอุปกรณ์ ช่วยในการควบคุมและตรวจสอบอุปกรณ์ ช่วยด้านการจัดการความปลอดภัย การรวมบริการคลาวด์ รวมไปถึงความเข้ากันได้กับเครือข่ายและแพลตฟอร์มของบ้านอัจฉริยะอื่นๆ ซึ่งโดยสรุปก็คือตัวควบคุมนี้จะมีบทบาทสำคัญในการรับรองความปลอดภัย ความสามารถในการทำงานร่วมกัน และความสะดวกในการใช้งานอุปกรณ์และเครือข่ายบ้านอัจฉริยะที่ทำงานบน Matter Matter สามารถเชื่อมต่อกับเทคโนโลยีอื่นๆ ได้ เช่น Zigbee โดยใช้ smart home bridges เพื่อโต้ตอบกับอุปกรณ์โดยการใช้โปรโตคอลอื่นๆ เหล่านั้น ซึ่งหมายความว่าหากผู้ใช้ต้องการรวมอุปกรณ์ Zigbee เข้ากับระบบสมาร์ทโฮมที่ใช้ Matter พวกเขาจะต้องมีอุปกรณ์ bridges ที่รองรับทั้งโปรโตคอล...

อ่านเพิ่มเติม →

เทคโนโลยี LPWAN ELTRES จาก Sony เพื่อการสื่อสารระยะไกลที่มีเสถียรภาพ

โพสต์โดย Marisa TAWEECHOKCHANCHAI เมื่อ

เทคโนโลยี LPWAN ELTRES จาก Sony เพื่อการสื่อสารระยะไกลที่มีเสถียรภาพ

         หนึ่งในคุณสมบัติของ ELTRES คือการสื่อสารทางไกลที่มีเสถียรภาพ ด้วยการส่งคลื่นสัญญาณวิทยุเพียงแค่ 20 mW แต่สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้ทั่วทั้งโตเกียว โดยมีสถานีฐานสัญญาณเพียงแค่ไม่กี่ที่ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ Tokyo Skytree เราจะพาคุณไปรู้จักกับต้นกำเนิดของเทคโนโลยี ELTRES รวมถึงแนวคิดด้านเทคโนโลยีพื้นฐาน   จุดเริ่มต้นของเทคโนโลยี     มันเป็นมากกว่า 10 ปีที่แล้ว ที่การเชื่อมต่อเซ็นเซอร์นับพันตัวเข้ากับอินเทอร์เน็ตถือเป็นการเปิดศักราชใหม่ของ  “sensor network” ซึ่งเป็นเทคโนโลยีแห่งอนาคต และนี่คือความคิดเห็นจากการบรรยายที่สะท้อนแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ใน ณ ขณะนั้น:"ระบบไร้สายเป็นสิ่งที่ไม่น่าเชื่อถือและไม่สามารถใช้งานได้ โลกอนาคตจะเป็นเครือข่ายเซ็นเซอร์แบบใช้สาย ซึ่งเซ็นเซอร์ทั้งหมดเชื่อมต่อกันด้วยสายไฟ"การบรรยายในการประชุมที่บอสตันสะท้อนเสียงของผู้คนในสาขานั้นว่า“อุปกรณ์สื่อสารวิทยุนั้นมีหน้าที่ปรับความแรงของคลื่นวิทยุให้ต่ำ อยู่ระดับกลาง หรือสูง  ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่พนักงานภาคสนามจะติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าวเพื่อตั้งค่าความเข้มของคลื่นวิทยุให้ “สูง” ไม่ว่าสภาพคลื่นวิทยุนั้นจะดีหรือไม่ดีก็ตาม และแม้ว่าอุปกรณ์สื่อสารไร้สายนั้นจะถูกติดตั้งในสถานภาพ "สูง" และมีระยะครอบคลุมเพียงพอ แต่การสื่อสารแบบไร้สายก็อาจจะยังคงถูกรบกวนอยู่ดี"ด้วยเหตุนี้ ความท้าทายของการสื่อสารแบบไร้สายคือ "ความไม่เสถียรในการสื่อสาร" ซึ่งที่ข้อมูลจากเซ็นเซอร์ถูกรบกวนหรือหยุดชะงักนั้นจะสร้างความไม่สะดวกสบายเป็นอย่างมากให้กับผู้ใช้งาน อีกปัจจัยที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างมากกับความเสถียรนั่นก็คือ "ระยะห่างในการสื่อสาร" เพื่อให้ได้บริการการสื่อสารแบบไร้สายที่ใช้ทุนต่ำ แต่ก็จำเป็นต้องคำนึงถึงสื่อสารในระยะทางที่ไกล อย่างไรก็ตาม ในระยะทางไกล ระดับสัญญาณจะลดลง และจะทำให้การสื่อสารนั้นไม่เสถียรมากขึ้นแล้วความไม่มั่นคงมาจากไหนและจะแก้ไขได้อย่างไร? หากเทคโนโลยีของ Sony สามารถรวมเข้ากับวิทยุทางไกลที่มีความเสถียรได้ ก็จะกลายเป็นความสามารถหลักที่จะเปิดทางสู่อนาคต ซึ่ง ELTRES ได้รับการพัฒนาโดยคำนึงถึงสิ่งนี้ แล้วเทคโนโลยีพื้นฐานของ ELTRES ทำงานอย่างไรกัน    หลักการติดต่อสื่อสารทางไกล เมื่อระยะการสื่อสารเพิ่มขึ้น สัญญาณที่ได้รับก็จะเบาบางลงและจะจมอยู่ในสัญญาณรบกวนในที่สุด แต่สัญญาณจะไม่หายไป และเมื่อคุณรวบรวมและเพิ่มสัญญาณขาเข้าจำนวนมาก (เรียกว่าการรวมระบบ) คุณจะสามารถมองเห็นสัญญาณที่ฝังอยู่ในเสียงรบกวนได้ในที่สุด โดยเทคโนโลยีการสื่อสารระยะไกล เช่น สเปรดสเปกตรัม, Sigfox และ LoRa จะใช้หลักการนี้เพื่อตรวจจับสัญญาณที่อ่อนและเพิ่มระยะการสื่อสาร ซึ่ง ELTRES จะใช้เทคโนโลยีเดียวกันเพื่อลดเสียงรบกวนและเพิ่มระยะการสื่อสารโดยการสะสมสัญญาณขาเข้าหลายตัวมารวมกัน   ความยากในการสะสมสัญญาณ = ปัญหาการประสานข้อมูล พื้นที่ของสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น ห้องปฏิบัติการ จะง่ายต่อการรวบรวมและ "สะสม" สัญญาณที่ได้รับ แต่อย่างไรก็ตามบุคคลที่มีเครื่องส่งสามารถที่จะเคลื่อนที่ได้เช่นกัน เมื่อระยะการสื่อสารเปลี่ยนแปลงไปครึ่งหนึ่งของความยาวคลื่น (ประมาณ 16 เซนติเมตร) เนื่องจากการเคลื่อนไหว เวลาของการสื่อสารก็จะล่าช้าลงไป 0.5 นาโนวินาที และขั้วของสัญญาณที่ได้รับจะกลับกัน (ซึ่งหมายถึงสัญญาณบวกจะกลายเป็นสัญญาณลบ)การเพิ่มสัญญาณกลับหัวเข้าด้วยกันเพื่อ "สะสม"...

  • แท็ก: IoT

อ่านเพิ่มเติม →

Smart Switch สุดอัจฉริยะ ติดตั้งง่าย ไม่ต้องใช้สาย Neutral

โพสต์โดย Marisa TAWEECHOKCHANCHAI เมื่อ

Smart Switch สุดอัจฉริยะ ติดตั้งง่าย ไม่ต้องใช้สาย Neutral

  SONOFF ZBMINI Extreme (ZBMINI-L2) Smart Switch รุ่นใหม่ล่าสุดจากค่าย Sonoff ที่จิ๋วแต่แจ๋ว มาพร้อมฟังก์ชันการใช้งานที่หลากหลาย รวมไปถึงสามารถติดตั้งได้ง่ายโดยไม่ต้องใช้สาย Neutral   สาย Neutral ไม่จำเป็นอีกต่อไป ติดตั้งง่ายขึ้นไปอีกขั้น หมดปัญหากวนใจเมื่อต้องการใช้สวิชต์อัจฉริยะ แม้เต้าปลั๊กที่บ้านไม่มีสาย Neutral เพราะสวิชต์อัจฉริยะรุ่นใหม่ล่าสุดจากค่าย SONOFF รุ่น ZBMINI Extreme Zigbee Smart Switch (ชื่อย่อ ZBMINIL2) เข้ามาช่วยแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับสาย Neutral หรือไม่ต้องคร่อม Capacitor เหมือนกับรุ่นก่อนหน้านี้อย่าง รุ่น ZBMINI จากค่ายเดียวกัน หรือสวิตช์อัจฉริยะ AUBESS Tuya ZigBee Smart DIY Switch ช่วยให้การติดตั้งทำได้ง่ายเพียงแค่ต่อสาย L เข้าก็สามารถใช้งานได้เลย แถมมี S1 และ S2 สำหรับต่อสวิตซ์ภายนอก หรือ จะต่อเป็นสวิตซ์สองทางก็ได้เช่นกัน ตอบโจทย์การสร้าง Smart Home แบบง่าย ๆ ได้ด้วยตัวเองสุด ๆ     ขนาดเล็กลง ใช้งานได้กับกล่องปลั๊กทุกขนาด สวิชต์อัจฉริยะไซซ์จิ๋วที่มาพร้อมขนาด 39.5x32×18.4 mm ช่วยให้สามารถนำไปติดตั้งใส่ลงในกล่องติดตั้งได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น EU-type, 86-type หรือ 120-type เหมาะสมอย่างมากกับการนำไปใช้ในบริเวณที่มีพื้นที่จำกัดมาก ๆ อย่างเช่น ในกล่องปลั๊กไฟที่ขนาดเล็กและตื้น      จิ๋วแต่แจ๋ว กับฟีเจอร์ที่มาแบบจัดเต็ม สั่งการเปิดปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ดั่งใจไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ด้วยการสั่งการผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ รวมไปถึงการสั่งการด้วยเสียงผ่าน Alexa หรือ Google Home แถมนอกจากนี้ยังสามารถตั้งเวลาเปิดปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าล่วงหน้าได้ ทั้งแบบ Schedule และ Timer ซึ่งทำได้ง่าย ๆ ผ่านแอปพลิเคชัน รวมถึงความสามารถในการการตั้งเงื่อนไข หรือ Automation...

อ่านเพิ่มเติม →

ตรวจสอบอุณหภูมิและความชื้นของบ้านคุณได้ง่าย ๆ ด้วย Sonoff - SNZB-02D Smart LCD Temperature Humidity Sensor

โพสต์โดย Marisa TAWEECHOKCHANCHAI เมื่อ

ตรวจสอบอุณหภูมิและความชื้นในบ้านของคุณได้ทุกที่ ทุกเวลา เพื่อชีวิตที่สะดวกสบายขึ้นไปอีกขั้น ด้วย Sonoff - SNZB-02D Smart LCD Temperature Humidity Sensor เซ็นเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิและความชื้นที่ขนาดกะทัดรัด แต่ทรงประสิทธิภาพ จากค่าย Sonoff ที่มาพร้อมฟีเจอร์มากมายแบบจัดเต็ม    1. วัดค่าอุณหภูมิและความชื้นได้อย่างถูกต้องด้วย Swiss-made sensor เซ็นเซอร์คุณภาพสูงที่ช่วยให้คุณมั่นใจได้เลยว่าผลลัพธ์ที่ได้จะเที่ยงตรงและแม่นยำ 2. แสดงค่าแบบเรียลไทม์ผ่านแอปพลิเคชัน ช่วยให้ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนก็สามารถตรวจสอบอุณหภูมิและความชื้นได้สบาย ๆ ไร้กังวล นอกจากนี้คุณยังสามารถตรวจสอบค่าอุณหภูมิหรือความชื้นสูงสุดและต่ำสุดได้ทุกชั่วโมงหรือจะเลือกตรวจสอบข้อมูลย้อนไปในวันใดก็สามารถทำได้ รวมไปถึงยังสามารถ export ข้อมูลออกมาเป็นไฟล์ได้อีกด้วย   3. มาพร้อมหน้าจอขนาด 2.5 นิ้ว แสดงค่าให้ดูง่าย เห็นชัดเจน สบายตา พ่วงมาด้วยหน่วยวัดอุณหภูมิถึง 2 หน่วยด้วยกัน ได้แก่ หน่วยองศาเซลเซียส(°C) และ หน่วยองศาฟาเรนไฮต์ (°F) ต้องการดูค่าอุณหภูมิในหน่วยไหนได้ก็เลือกเปลี่ยนได้ตามใจไม่มีติดขัด  4. จะวางไว้ที่ไหนก็ไร้ปัญหา ด้วยระยะครอบคลุมการวัดอุณหภูมิและความชื้นสูงสุดถึง 120 ม./400 ฟุต (ไม่มีสิ่งกีดขวางและสภาวะที่เหมาะสม) เพื่อให้คุณสามารถตรวจสอบข้อมูลล่าสุดได้ตลอดเวลา   5. ติดตั้งง่ายและสะดวก สามารถติดตั้งได้ถึง 3 วิธี ไม่ว่าจะเป็นขาตั้งที่แข็งแรง ติดตั้งแบบแม่เหล็ก หรือติดตั้งเข้ากับผนังด้วยเทป   6. ร้อนเกินก็รู้ หนาวไปก็ทราบ กับฟังก์ชันที่สามารถตั้งค่าให้แจ้งเตือนผ่านแอปพลิเคชัน เมื่ออุณหภูมิสูงเกินไปหรือต่ำเกินไป คุณจะได้รับการแจ้งเตือนทันทีจากโทรศัพท์ของคุณเมื่ออุณหภูมิหรือความชื้นเกินระดับ comfort level ที่คุณตั้งไว้    7. สะดวกขึ้นไปอีกขั้นเมื่อใช้งานร่วมกับ smart switch โดยสามารถตั้งค่าอุณหภูมิและความชื้นที่ได้จากเซ็นเซอร์แล้วนำไปสั่งการเปิดปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ ต่อได้ เช่น ตั้งค่าให้เปิดเครื่องปรับอากาศเมื่ออุณหภูมิห้องสูงกว่า 30 องศาเซลเซียส หรือสั่งการให้ปิดเครื่องปรับอากาศเมื่ออุณหภูมิห้องต่ำกว่า 18 องศาเซลเซียส เป็นต้น เพิ่มความสะดวกสบายให้กับบ้านของคุณขึ้นไปอีกระดับ   เห็นอย่างนี้แล้ว ใครที่อยากเพิ่มความอัจฉริยะ บวกความสะดวกสบายให้กับบ้านล่ะก็ Sonoff - SNZB-02D Smart LCD Temperature...

อ่านเพิ่มเติม →