เคล็ดไม่ลับสำหรับการควบคุมต้นทุนการผลิต ด้วยการอนุรักษ์พลังงานลมและไฟฟ้าในโรงงาน
โพสต์โดย Supatcha Swangchaeng เมื่อ
แม้ภาพรวมในด้านอุตสาหกรรมในไทยปี 2563 จะหดตัวลงเนื่องมาจากผลกระทบของสถานการณ์โควิด-19 แต่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าอุตสาหกรรมไทยเติบโตมาอย่างต่อเนื่องในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา หลายโรงงานได้ปรับตัวให้เข้ากับแนวโน้มเหล่านี้ด้วยการเพิ่มเครื่องจักรหรือหุ่นยนต์เพื่อผลิตสินค้าให้เท่ากับหรือมากกว่าความต้องการของผู้บริโภค
(ref: oie.go.th, .bot.or.th)
เมื่อเครื่องจักรหรือหุ่นยนต์มีจำนวนเพิ่มขึ้น โรงงานจึงจำเป็นต้องใช้พลังงานไฟฟ้าและพลังงานลมมากขึ้น และเนื่องจากสัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าเกี่ยวข้องกับปั๊มลมซึ่งกินค่าไฟทั้งหมดถึง 20-25% การเปลี่ยนแปลงและตรวจวัดพลังงานไฟฟ้าให้อยู่ในรูปแบบที่จับต้องได้โดยการใช้ Air Flow Sensor นั้นจึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้สามารถประหยัดพลังงานภายในโรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Air Flow Sensor คืออะไร ?
Air Flow sensor คือเซนเซอร์ช่วยตรวจวัดลม โดยตัวเซนเซอร์สามารถตรวจหาปริมาณลมรั่ว ตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของปั๊มลม และบริหารจัดการแรงดันและอัตราไหลให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้
ข้อดีของ Air Flow Sensor หรือ เซนเซอร์ช่วยตรวจวัดลมมีอะไรบ้าง?
- เมื่อทราบถึงปริมาตรการใช้งานการใช้ไฟฟ้าจากประสิทธิภาพโดยรวมของปั๊มลม ก็จะสามารถนำไปปรับปรุงวิธีการใช้งานปั๊มลมได้
- สามารถจัดการซ่อมแซมปั๊มลมได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ โดยนำข้อมูลที่ได้จากเซนเซอร์มาทำการวิเคราะห์การทำงานของปั๊มลม
- ป้องกันการใช้พลังงงานลมเกินจำเป็นจากปัญหาลมรั่วในระบบ ทำให้ประหยัดค่าไฟมากขึ้น
ส่วนขอด้อยของ Air Flow Sensor ที่อาจจะส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องราคาในการลงทุนเริ่มติดตั้งที่ค่อนข้างสูง รวมถึงการจะติดตั้งตัวเซนเซอร์เข้าไปอาจจะใช้เวลาในการดำเนินการค่อนข้างนานเนื่องจากต้องตัดท่อลมเพื่อติดตั้ง อาจจะเหมาะกับผู้ใช้งานที่ต้องการให้เห็นผลในระยะยาวมากกว่า
จากที่กล่าวมาข้างต้นถือเป็นคุณสมบัติทั่วไปของเซนเซอร์ช่วยตรวจวัดลม แต่หากต้องการตรวจวัดลมให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด เซนเซอร์ตรวจวัดที่ใช้คลื่นอัลตราโซนิคนั้นถือว่าตอบโจทย์เป็นอย่างมาก เซนเซอร์ช่วยตรวจวัดลมที่ใช้คลื่นอัลตราโซนิค หรือ Ultrasonic Flowmeter for Air ATZTA TRX/Z ของบริษัท Aichi Tokei Denki ถือเป็นนวัตกรรมที่เป็นที่รู้จักและนิยมในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่นมาเป็นเวลานาน ในแง่ของประสิทธิภาพ และผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้งาน
ข้อดีของ Ultrasonic Flowmeter for Air ATZTA TRX
เซนเซอร์ตรวจวัดลมทั่วไปมีลักษณะช่วงตรวจวัดที่แคบ ทำให้มีจุดบอดในช่วงอัตราการไหลบางช่วง แต่วิธีตรวจวัดด้วยคลื่นอัลตราโซนิคให้ช่วงตรวจวัดที่กว้างกว่า นอกจากนี้เซนเซอร์ยังมีคุณสมบัติที่ทนทานต่อฝุ่น ละออง ความชื้น และคราบน้ำมันในระบบท่อได้มากกว่า
ATZTA TRX/Z ให้ผลลัพธ์การตรวจวัดที่เสถียรและแม่นยำแม้ในช่วงอัตราไหลต่ำ
สามารถตั้งค่าการตรวจวัดและแสดงผลได้แบบ 2 ทิศทางทั้งแบบไปข้างหน้าและย้อนกลับ เพื่อตอบสนองการใช้งานที่หลากหลายของระบบท่อลม ทั้งระบบทางเดียวและระบบไหลแบบท่อวน
4. การสูญเสียความดัน = 0 ดังนั้นการสูญเสียพลังงานไฟฟ้าโดยเปล่าประโยชน์ = 0
ระบบตรวจวัดด้วยคลื่นอัลตราโซนิคนั้นไร้ซึ่งสิ่งกีดขวางภายในอุปกรณ์และตัวท่อ ไม่ทำให้
เกิดความดันอย่างเปล่าประโยชน์
การตรวจสอบการรั่วไหลเป็นปัจจัยพื้นฐานในการหาวิธีประหยัดพลังงาน หากทราบปริมาณการใช้ลมอย่างมีประสิทธิภาพ ก็สามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์และปรับการใช้งานช่วยให้ประหยัดพลังงานและลดต้นทุนได้อย่างไม่คาดคิด