News

การปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการตรวจสอบระดับ CO2 ภายในอาคาร

Posted by Supatcha Swangchaeng on

การปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการตรวจสอบระดับ CO2 ภายในอาคาร กฎหมายคุณภาพอากาศภายในอาคาร เป็นที่ทราบกันอย่างดีว่าระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ภายในอาคารนั้นสามารถก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ มากมาย รวมไปถึงโรคระบบทางเดินหายใจ ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ และอาการเหนื่อยล้า โรคเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ในบริเวณที่มีความเข้มข้นต่ำถึง 500 ppm ซึ่งมีความเข้มข้นไม่ห่างจากระดับ 'อากาศบริสุทธิ์' ในบริเวณกลางแจ้งทั่วไปที่จะเข้มข้นประมาณ 400 ppm นอกจากนี้ ระดับ CO2 ภายในอาคารยังสามารถใช้เป็นตัวแทนในการระบุมาตรฐานการระบายอากาศ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการป้องกันการแพร่กระจายของโรคในอากาศด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวต่อผู้อยู่อาศัยในอาคารและผู้มาติดต่อ หลายรัฐบาลทั่วโลกรวมไปถึงสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และ เยอรมนี ได้ออกกฎหมายหรือกำลังพิจารณาข้อกำหนดทางกฎหมายสำหรับการตรวจสอบระดับ CO2 ภายในอาคาร ไม่ว่าจะเป็นในสำนักงาน โรงงาน โรงเรียน และสถานที่ทำงานอื่นๆ  ตัวอย่างเช่น ในสหราชอาณาจักร ข้อกำหนดอาคาร(2010) ซึ่งสนับสนุนกฎหมายด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน(1974) ได้กำหนดให้มีการดำเนินการควบคุมหากความเข้มข้นของ CO2 ในอาคารไม่ให้สูงเกิน 1,500 ppm โดยระบุให้พื้นที่ทีมีกิจกรรมทางกายภาพสูงนั้นควรมีระดับความเข้มข้นอยู่ที่ไม่เกิน 800 ppm กฎหมายนี้ยังระบุคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเครื่องตรวจวัด CO2 , วิธีการวัดค่า CO2 ที่แม่นยำ และแนะนำวิธีการในการลดระดับ CO2 ภายในอาคารด้วย   ข้อกำหนดในการตรวจสอบ CO2 เครื่องวัด CO2 มีหลายยี่ห้อและหลายรุ่น แต่ในจำนวนนั้น มีเพียงไม่กี่รุ่นที่ให้ผลลัพธ์การตรวจสอบความเข้มข้นภายในอาคารได้อย่างแม่นยำ ระดับ CO2 ในอาคารสามารถผกผันได้ตั้งแต่ค่าต่ำถึง 400 ppm ไปจนถึงมากกว่า 5,000 ppm ดังนั้น อย่างน้อยที่สุดเครื่องวัดก็ควรจะต้องสามารถครอบคลุมค่าความต่างในระดับนี้ได้ เครื่องวัดควรจะวัดค่า CO2 โดยตรง ไม่ควรใช้เครื่องที่อ่านค่า CO2 ด้วยการประเมินจากปัจจัยอื่น เช่น ระดับออกซิเจน ต้องปรับเทียบเครื่องวัดเพื่อให้แน่ใจว่าการอ่านค่าถูกต้อง และควรใช้ภายในระยะเวลาการปรับเทียบที่แนะนำเท่านั้น เครื่องวัดที่ปรับเทียบได้เองจะช่วยประหยัดเวลาและเงินของผู้ใช้ แนวทางปฏิบัติสำหรับการใช้เครื่องวัด CO2  สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการอ่านค่าที่แม่นยำและถูกต้องนั้นจะสามารถแสดงถึงความเข้มข้นของ CO2 ที่ผู้ใช้อาคารจะต้องเผชิญหน้าจริง ๆ ได้ ควรมีเครื่องวัดแยกต่างหากในแต่ละห้องหรือพื้นที่ทำงาน ควรวางเครื่องวัดไว้ที่ระดับประมาณความสูงของศีรษะ ห่างจากผู้อาศัยอย่างน้อย 0.5 ม....

Read more →

Electronic Nose: Perfect Technology For Food Industry

Posted by Supatcha Swangchaeng on

     The sense of taste(tongue) and smell(nose) work in harmony to develop human’s taste preferences of food and beverages. It is widely supported by specialists that 80% of food taste is affected by olfactory, not tongue perception. Despite the fact that today food and merchandise are intensely related with numerous scents, aroma detectors, which also function in monitoring, are rarely introduced yet. Only a minority of well trained specialists are used in this operation thus limited by several factors. To be specific; long training period, human errors, and health problems.      Because of the complexity of the olfactory...

Read more →

มาตรฐาน ISO/IEC 27001 หรือระบบการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ (Information Security Management Systems: ISMS)

Posted by Supatcha Swangchaeng on

มาตรฐาน ISO/IEC 27001 หรือระบบการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ (Information Security Management Systems: ISMS) คือมาตรฐานที่จะช่วยให้เราจัดการข้อมูลสารสนเทศที่มีอย่างเป็นระบบ ครบถ้วน ปลอดภัย และสามารถนำมาใช้งานได้อย่างทันท่วงที   เนื่องจากปัจจุบันนี้ข้อมูลสารสนเทศถือได้ว่ามีส่วนสำคัญและเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในชีวิตประจำวัน การประกอบธุรกิจตั้งแต่ระดับ SME  เล็กๆไปจนถึงองค์กรใหญ่ๆ หากต้องการเพิ่มความมั่นคงให้กับข้อมูลที่มีอยู่ในมือว่าจะถูกเก็บรักษาไว้อย่างปลอดภัย ลดโอกาสที่จะเกิดปัญหาจากการเข้าถึงอย่างไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งอาจะทำให้เกิดกรณีฟ้องร้องค่าเสียหายในภายหลัง รวมไปถึงช่วยยืนยันว่าข้อมูลจะได้รับการจัดเก็บอย่างเป็นระบบเพื่อให้สามารถหยิบมาใช้ได้ในทันทีที่ต้องการ   มาตรฐาน ISO/IEC 27001ได้มีการประยุกค์ใช้หลักการ Plan-Do-Check-Act (PDCA) เข้ามาทำให้การจัดการข้อมูลนั้นเป็นไปอย่างมีระบบ มีการบริหารจัดการเชิงกระบวนการที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยมุ่งเน้นไปที่การวางแผนก่อนลงมือปฎิบัติงาน การจัดทำนโยบาย การลงมือทำอย่างรอบคอบรัดกุม รวมถึงมีการควบคุม ตรวจสอบ และประเมินความเสี่ยงในการปฏิบัติงานอยู่เสมอ    ประโยชน์ที่จะได้รับจากการจัดทำ ISO/IEC 27001 ช่วยทำให้พนักงานและผู้บริหารเข้าใจองค์กรและบริบทขององค์กร  ช่วยเสริมภาพลักษณ์องค์กรให้ดูน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น เพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริหาร พนักงาน ลูกค้าว่าข้อมูลที่เป็นความลับจะถูกดูแลอย่างดีไม่ทำให้เกิดความเสี่ยงตามมาภายหลัง  สามารถประเมินและดูแลข้อมูลตามความสำคัญและความเสี่ยงที่มีต่อองค์กร  การนำมาตรฐานISO27001มาใช้งาน มี4 องค์ประกอบใหญ่คือ   จัดทำระบบ(Establish) การจัดการความมั่นคงปลอดภัยของ สารสนเทศ(Information Security Management System -ISMS) คือ การเตรียมการ วางแผนเพื่อปกป้องสารสนเทศ   นำไปปฏิบัติ(Implement) คือ นำแผนจากขั้นตอนการจัดทำระบบ(Establish) ไปปฏิบัติจริงหน้างานทำตามเอกสารคู่มือและลงบันทึกในแบบฟอร์ม   รักษาไว้(Maintain) คือปฏิบัติควบคู่ไปกับการทำงานปกติ(ไม่ใช่ทำเฉพาะก่อนจะโดนตรวจAudit)   ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง(Continual Improvement) คือ ทบทวนผลการทำระบบและหาจุดปรับปรุง อย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่ทำครั้งเดียวจบ Source Reference: https://en.wikipedia.org/wiki/ISO/IEC_27001 http://www.club27001.com/2013/08/isoiec-27001_21.html https://op.mahidol.ac.th/ia/wp-content/uploads/2017/08/07KMISO27001.pdf

Read more →

Top 5 IoT Gateway

Posted by Supatcha Swangchaeng on

ในโลกยุคดิจิทอลนี้ เราจะสังเกตได้ว่ามีการนำอุปกรณ์และเทคโนโลยี IoT ( Internet of Things) เข้ามาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันกันอย่างแพร่หลายมาก ซึ่งในการที่จะพัฒนาการนำอุปกรณ์ดังกล่าวมาใช้ได้นั้น จำเป็นจะต้องมีอุปกรณ์ที่สำคัญมากอีกหนึ่งอย่าง ที่เราจะหยิบมาพูดคุยกันในวันนี้ นั่นคือ เจ้า Gateway หรือ เกตเวย์ นั่นเอง Gateway หรือ เกตเวย์นั้น เป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่ในการทำงานตรงกับชื่อของมัน นั่นคือสามารถเป็น “ประตู” เพื่อใช้ในการเดินทางเข้าไปสู่ Network อื่นๆ โดยเกตเวย์จะทำหน้าที่เป็นตัวกลาง (Bridge) ในการรับส่งข้อมูลระหว่างการสื่อสารชนิดที่แตกต่างกัน สามารถทำได้ทั้งรับและส่งข้อมูลได้ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ยังช่วยทำหน้าที่ป้องกันและเพิ่มความปลอดภัยของการรับส่งข้อมูลในระบบอีกด้วย  ในปัจจุบันนั้นมีผลิตภัณฑ์เกตเวย์จากหลายค่ายที่ผลิตออกมาเพื่อตอบสนองการใช้งานในรูปแบบต่างๆ เราจึงขอเลือกนำเกตเวย์ที่น่าสนใจมาแนะนำให้ทุกคนได้รู้จัก 5 รุ่นด้วยกัน   ADVANTECH WISE-710 WISE-710 จาก  ADVANTECH นั้นเป็นเกตเวย์ที่สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆได้อย่างหลากหลายเนื่องจากมีพอร์ตที่สามารถรองรับได้ทั้ง RS-232/485 มี I/O ที่สามารถใช้งานได้กับ 2 x GbE, 3 x COM, 4 x DI/O, 1 x Micro USB รวมถึง  1 x microSD ทำให้ข้อมูลที่ได้รับมาทั้งหมดถูกส่งขึ้นบน Cloud ได้อย่างปลอดภัย ตัวชิปเองก็ได้รับการรับรองจาก Microsoft Azure อีกด้วย   Specification: Freescale i.MX 6 Dual Lite A9 1GHz 1x mPICe for WIFI/3G/4G/NB-IoT Support MQTT, LWM2M client for cloud communication Embedded with Microsoft Azure certified security chip Support Micro SD...

Read more →

เคล็ดไม่ลับสำหรับการควบคุมต้นทุนการผลิต ด้วยการอนุรักษ์พลังงานลมและไฟฟ้าในโรงงาน

Posted by Supatcha Swangchaeng on

แม้ภาพรวมในด้านอุตสาหกรรมในไทยปี 2563 จะหดตัวลงเนื่องมาจากผลกระทบของสถานการณ์โควิด-19 แต่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าอุตสาหกรรมไทยเติบโตมาอย่างต่อเนื่องในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา หลายโรงงานได้ปรับตัวให้เข้ากับแนวโน้มเหล่านี้ด้วยการเพิ่มเครื่องจักรหรือหุ่นยนต์เพื่อผลิตสินค้าให้เท่ากับหรือมากกว่าความต้องการของผู้บริโภค  (ref: oie.go.th, .bot.or.th) เมื่อเครื่องจักรหรือหุ่นยนต์มีจำนวนเพิ่มขึ้น โรงงานจึงจำเป็นต้องใช้พลังงานไฟฟ้าและพลังงานลมมากขึ้น และเนื่องจากสัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าเกี่ยวข้องกับปั๊มลมซึ่งกินค่าไฟทั้งหมดถึง 20-25%  การเปลี่ยนแปลงและตรวจวัดพลังงานไฟฟ้าให้อยู่ในรูปแบบที่จับต้องได้โดยการใช้ Air Flow Sensor นั้นจึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้สามารถประหยัดพลังงานภายในโรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ   Air Flow Sensor คืออะไร ? Air Flow sensor คือเซนเซอร์ช่วยตรวจวัดลม โดยตัวเซนเซอร์สามารถตรวจหาปริมาณลมรั่ว ตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของปั๊มลม และบริหารจัดการแรงดันและอัตราไหลให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้ ข้อดีของ Air Flow Sensor หรือ เซนเซอร์ช่วยตรวจวัดลมมีอะไรบ้าง? เมื่อทราบถึงปริมาตรการใช้งานการใช้ไฟฟ้าจากประสิทธิภาพโดยรวมของปั๊มลม ก็จะสามารถนำไปปรับปรุงวิธีการใช้งานปั๊มลมได้ สามารถจัดการซ่อมแซมปั๊มลมได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ โดยนำข้อมูลที่ได้จากเซนเซอร์มาทำการวิเคราะห์การทำงานของปั๊มลม ป้องกันการใช้พลังงงานลมเกินจำเป็นจากปัญหาลมรั่วในระบบ ทำให้ประหยัดค่าไฟมากขึ้น ส่วนขอด้อยของ Air Flow Sensor ที่อาจจะส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องราคาในการลงทุนเริ่มติดตั้งที่ค่อนข้างสูง รวมถึงการจะติดตั้งตัวเซนเซอร์เข้าไปอาจจะใช้เวลาในการดำเนินการค่อนข้างนานเนื่องจากต้องตัดท่อลมเพื่อติดตั้ง อาจจะเหมาะกับผู้ใช้งานที่ต้องการให้เห็นผลในระยะยาวมากกว่า จากที่กล่าวมาข้างต้นถือเป็นคุณสมบัติทั่วไปของเซนเซอร์ช่วยตรวจวัดลม แต่หากต้องการตรวจวัดลมให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด เซนเซอร์ตรวจวัดที่ใช้คลื่นอัลตราโซนิคนั้นถือว่าตอบโจทย์เป็นอย่างมาก เซนเซอร์ช่วยตรวจวัดลมที่ใช้คลื่นอัลตราโซนิค หรือ Ultrasonic Flowmeter for Air ATZTA TRX/Z ของบริษัท Aichi Tokei Denki ถือเป็นนวัตกรรมที่เป็นที่รู้จักและนิยมในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่นมาเป็นเวลานาน ในแง่ของประสิทธิภาพ และผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้งาน ข้อดีของ Ultrasonic Flowmeter for Air ATZTA TRX 1. ตรวจวัดลมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เซนเซอร์ตรวจวัดลมทั่วไปมีลักษณะช่วงตรวจวัดที่แคบ ทำให้มีจุดบอดในช่วงอัตราการไหลบางช่วง แต่วิธีตรวจวัดด้วยคลื่นอัลตราโซนิคให้ช่วงตรวจวัดที่กว้างกว่า นอกจากนี้เซนเซอร์ยังมีคุณสมบัติที่ทนทานต่อฝุ่น ละออง ความชื้น และคราบน้ำมันในระบบท่อได้มากกว่า   2. มีความแม่นยำที่สูงกว่ามิเตอร์ตรวจวัดประเภทอื่น ATZTA TRX/Z ให้ผลลัพธ์การตรวจวัดที่เสถียรและแม่นยำแม้ในช่วงอัตราไหลต่ำ 3. ระบบตรวจวัดแบบ 2 ทิศทาง สามารถตั้งค่าการตรวจวัดและแสดงผลได้แบบ 2 ทิศทางทั้งแบบไปข้างหน้าและย้อนกลับ เพื่อตอบสนองการใช้งานที่หลากหลายของระบบท่อลม ทั้งระบบทางเดียวและระบบไหลแบบท่อวน 4. การสูญเสียความดัน = 0 ดังนั้นการสูญเสียพลังงานไฟฟ้าโดยเปล่าประโยชน์...

Read more →